เมนู

คือ โสดาปัตติมรรค ซึ่งกำหนดธรรมคือสัจจะ 4. บทว่า นตฺถิ ตํ สํโยชนํ
ความว่า พระอริยสาวกนั้นไม่มีสังโยชน์ 2 อย่างแล (อภิชฌา และพยาบาท).
อนึ่ง ในสูตรนอกนี้ท่านกล่าวว่า ไม่มี ก็เพราะไม่สามารถจะนำมาสู่โลกนี้ได้อีก.
แท้จริง ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระอนาคามี.
จบอรรถกถาสรทสูตรที่ 3

4. ปริสาสูตร



ว่าด้วยบริษัท 3 จำพวก



[535] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท 3 นี้ บริษัท 3 คืออะไร คือ
(อคฺควตี ปริสา) บริษัทที่มีแต่คนดี (วคฺคา ปริสา) บริษัทที่เป็นพรรค
(คือแตกกัน) (สมคฺคา ปริสา) บริษัทที่สามัคคีกัน
บริษัทที่มีแต่คนดี เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ
ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร ไม่ย่อหย่อน (ในการบำเพ็ญสิกขา) ทอดธุระในทาง
ต่ำทราม มุ่งไปในทางปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ปัจฉิมา-
ชนตา (ประชุมชนผู้เกิดมาภายหลัง) ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น ก็พา
กันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ย่อหย่อน (ในการบำเพ็ญสิกขา) ฯลฯ เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี
บริษัทที่เป็นพรรค เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย
เกิดแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่เป็นพรรค

บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย
พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน) เป็นประหนึ่งว่านมประสมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ
(คือสายตาของคนที่รักใคร่กัน) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ฯลฯ มองดู
กันและกันด้วยปิยจักษุ ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ในสมัยนั้น
ภิกษุทั้งหลายชื่อว่าอยู่อย่างพรหม คืออยู่ด้วยมุทิตา (พรหมวิหาร) อันเป็น
เครื่องพ้นแห่งใจ (จากริษยา) ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ยินดี กายของผู้มี
ใจปีติย่อมระงับ ผู้มีกายรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกบนภูเขา น้ำนั้นไหล
ไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาและลำรางทางน้ำให้เต็ม ซอกเขาและลำรางทางน้ำ
เต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว
ย่อมยังคลองให้เต็ม คลองเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำให้เต็ม แม่น้ำเต็มแล้ว
ย่อมยังทะเลให้เต็มฉันใดก็ดี ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ฯลฯ
มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ฯลฯ
จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บริษัท 3.
จบปริสาสูตรที่ 4

อรรถกถาปริสาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาหุลฺลิกา น โหนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้มักมากด้วย
ปัจจัย. บทว่า น สาถลิกา คือ ไม่รับสิกขา 3 ทำให้ย่อหย่อน. บทว่า
โอกฺกมเน นิกฺขิตตฺธุรา ความว่า นิวรณ์ 5 เรียกว่า โอกกมนะ เพราะ
หมายความว่า ทำให้ตกต่ำ (ภิกษุผู้เถระ) เป็นผู้ทอดทิ้งธุระในนิวรณ์ซึ่งทำ
ให้ตกต่ำเหล่านั้น. บทว่า ปวิเวเก ปุพฺพงฺคมา ความว่า เป็นหัวหน้าใน
วิเวก 3 อย่าง กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า
วิริยํ อารภนฺติ ได้แก่ เริ่มความเพียรทั้ง 2 อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส
ได้แก่ ไม่บรรลุคุณวิเศษ กล่าวคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล. แม้
ในสองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ประชุมชนภายหลังมีสัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิกเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺชติ ความว่า ทำตาม
ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ได้ทำมาแล้ว. ประชุมชนภายหลังนี้ชื่อว่า ถึงการดำเนิน
ไปตามสิ่งที่ประชุมชนนั้นได้เห็นมาแล้ว ในอุปัชฌาย์อาจารย์. บทว่า อยํ
วุจฺจติ ภิกฺขเว อคฺควตี ปริสา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี.
บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดการบาดหมางกัน. บทว่า
กลหชาตา แปลว่า เกิดการทะเลาะกัน ก็ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะกัน
ชื่อว่า การบาดหมางในสูตรนี้. การล่วงเกินกันด้วยอำนาจ (ถึงขนาด) จับมือ
กันเป็นต้น ชื่อว่า การทะเลาะกัน. บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงการ